วันเสาร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

อุบัติเหตุช่วงเทศกาล
               วันหยุดปี พ.ศ. ใหม่หรือวันหยุดสงกรานต์ นับเป็นช่วงเวลาแห่งความสุขของคนไทยส่วนใหญ่ ทั้งจากการเดินทางท่องเที่ยว งานเลี้ยงสังสรรค์ หรือการพบปะกันอย่างพร้อมหน้าของสมาชิกในครอบครัว แต่สำหรับบางคนนั้น กลับเป็นช่วงเวลาของความโศกเศร้าที่ยากจะลืม เมื่อสมาชิกในครอบครัวหรือญาติสนิทมิตรสหายจำต้องสังเวยชีวิตให้กับอุบัติเหตุทางถนนที่เกิดขึ้นในช่วงวันหยุดเทศกาล
              ถึงแม้ว่าการติดตามและรายงานข่าวอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลปีใหม่และสงกรานต์แต่ละปี จะดูเหมือนเป็นเรื่องที่เคยชินกันไปแล้ว แต่เมื่อพิจารณาจากสรุปตัวเลขผู้เสียชีวิตในแต่ละเทศกาล จะเห็นได้ว่าปัญหาอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลยังคงเป็นเรื่องที่น่าวิตกอย่างยิ่ง เพราะด้วยระยะเวลาเพียงแค่สัปดาห์เดียวที่เรียกกันว่าช่วง “7 วันอันตราย” มักจะมีจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนรวมโดยเฉลี่ยประมาณ 300 – 400 รายหรือเทียบได้กับการเสียชีวิต 1 รายในทุกครึ่งชั่วโมง ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นสูงถึงสองเท่าจากปกติ



    สาเหตุหลักๆของอุบัติเหตุ คือ
1. สาเหตุจากผู้ขับยวดยานพาหนะ
 1.1 มีความบกพร่องทางด้านร่างกาย เช่น ร่างกายอ่อนเพลีย ง่วงนอน 
หรือหลับในสุขภาพไม่ดี มีโรคประจำตัว โรคลมชัก ตาบอดสี ตาพร่า น้ำตาลในเลือดต่ำ
     

1.2 มีความบกพร่องทางด้านจิตใจและอารมณ์ เช่น มีความกลัดกลุ้มใจ 
วิตกกังวล อารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียว มีความตึงเครียดทางอารมณ์
     

1.3 ขาดความรู้ความชำนาญ และประสบการณ์ในการใช้ถนน เช่น 
ขาดความรู้เรื่องความเร็วกับรถ คาดคะเนความเร็ว หรือกะระยะทางไม่ถูกต้อง 
ไม่มีความรู้ความชำนาญ ในเรื่องลักษณะของยวดยานที่ใช้ขับ ไม่รู้กฎจราจร เป็นต้น
     


1.4 ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือข้อบังคับ เช่น ขับรถเร็ว ขับรถตัดหน้ารถอื่น
ระยะกระชั้นชิด ขับรถล้ำช่องทางเดินรถ ขับรถแซงซ้าย หรือแซงขวาในที่คับขัน 
ขับรถตามหลังคนอื่นอย่างกระชั้นชิด ฝ่าฝืนป้ายหยุดขณะออกจากทางร่วม 
ขับรถย้อนศรทางเดินรถ ขับรถฝ่าฝืนเครื่องหมายจราจร หยุดรถโดยกระชั้นชิด ฯลฯ
     





1.5 ไม่รู้จักป้องกันตนเอง เช่น ขับรถด้วยความประมาท ขาดความระมัดระวัง

 ความเร่งรีบในการเดินทาง เสพยากระตุ้นประสาท ดื่มสุราขณะขับรถ ฯลฯ 
สำหรับเรื่องการดื่มสุรานั้น จากสถิติของสถาบันนิติเวชวิทยา 
กรมตำรวจ ปี พ.ศ. 2532 พบว่าผู้เสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุจากการจราจร 
มีประวัติการดื่มสุราจำนวน 288 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 77.12 





2. สาเหตุจากผู้โดยสาร  คนเดินเท้า  หรือสัตว์เลี้ยง 
     2.1 การขาดความระมัดระวัง เช่น ผู้โดยสารขึ้นหรือลงรถโดยไม่ระมัดระวัง 

ในการปิด-เปิดประตูรถ เดินถนนโดยไม่ระมัดระวังยวดยาน วิ่งตัดหน้ารถ 
การวิ่งเล่นบนถนน ลื่นหกล้ม ลังเลใจในการข้ามถนน ฯลฯ 

     2.2 การไม่ปฏิบัติตามกฎจราจร เช่น ห้อยโหนรถโดยสารรถประจำทาง

 ไม่ขึ้นหรือลงขณะรถหยุด หรือที่ป้ายจอด ไม่ข้ามถนนตรงทางข้าม, สัญญาณ 
หรือสะพานลอย ไม่เดินถนนตามบาทวิถีหรือทางเท้า 


     








2.3 ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น ข้ามถนนโดยออกจากหน้า 
หรือท้ายรถขณะที่รถยังจอดอยู่ สัตว์เลี้ยงเดินข้ามถนนหรือวิ่งตัดหน้ารถ ฯลฯ 

     2.4 ความไม่สมบูรณ์ของร่างกายและจิตใจ เช่น 

สภาพร่างกายที่อ่อนเพลียการดื่มสุราขณะเดินถนน เป็นต้น

วิธีขับขี่ปลอดภัยเพื่อลดอุบัติเหตุบนท้องถนน
1.ตรวจสภาพคนให้พร้อม เป็นสิ่งแรก คือผู้ขับขี่ต้องพร้อม นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
2.ตรวจสภาพรถให้พร้อม น้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร์ น้ำมันเฟืองท้าย ไฟรถ ยางรถ
3.ยางรถเป็นเรื่องสำคัญต้องอยู่ในสภาพดี ไม่ควรสึกเกินกว่า 3 ซม. และตรวจลมยางให้อยู่ในพิกัด
4.ระบบเบรกต้องพร้อม ควรเลือกใช้น้ำมันเบรกที่เหมาะสม รวมทั้งผ้าเบรก
5.ใบปัดน้ำฝนและหม้อน้ำ พร้อมปัดและฉีดน้ำได้ทันที
6.ไฟต้องพร้อมทุกดวง โดยเฉพาะไฟส่องทาง ควรตรวจให้อยู่ในสภาพสมบูรณ์ ใช้งานได้ทุกเวลา
7.ตรวจหม้อระบายความร้อน เติมน้ำยาป้องกันน้ำเดือด
8.ขณะขับขี่ควรจำกัดความเร็ว ระวังช่วงถนนเปียก และควรลดความเร็ว ขณะถนนแห้ง
9.อย่าขับจี้คันหน้า ควรทิ้งห่าง 2 วินาที หากถนนเปียก 4 นาที หรือห่างไม่น้อยกว่า 10 เมตร
10.ใช้ไฟสูงบอกตำแหน่งรถ หากฝนตกหนัก และทัศนวิสัยเลวมาก หรือในยามค่ำคืนสามารถใช้ไฟสูงได้ตลอดเวลา และต้องลดไฟลงเป็นไฟต่ำ หากมีรถสวนเพื่อบอกตำแหน่งรถ
11.หลีกเลี่ยงการแซงโดยไม่จำเป็น หากจำเป็นต้องแซงให้อดใจรอสักนิด คิดว่าช้าหน่อยดีกว่า หากไม่แน่ใจ หรือลังเล แม้แต่น้อย อย่าแซง


















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น